Liberal Party

พรรคเสรีนิยม

​​     พรรคเสรีนิยมเป็นพรรคการเมืองหลัก ๑ ใน ๒ พรรคของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงต้นทศวรรษ ๑๙๒๐ ซึ่งเป็นช่วงที่ การเมืองของประเทศผลัดกันชี้นำระหว่างพรรคเสรีนิยมกับพรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party)* พรรคเสรีนิยมประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วง ค.ศ. ๑๘๖๘-๑๙๑๖ โดยมีชัยใน การเลือกตั้งทั่วไปถึง ๗ ครั้งรัฐบาลพรรคเสรีนิยมไดออกกฎหมายปฏิรูปสังคมหลายฉบับตลอดจนวางราก ฐานการเป็นรัฐสวัสดิการ(welfare state) ของอังกฤษ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ (First World War)* พรรค เสรีนิยมกลายเป็นพรรคสำคัญอันดับ๓ และเข้าร่วม รัฐบาลแห่งชาติ (National Government) ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๓๑-๑๙๓๒ และรัฐบาลผสมช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ (Second World War)* จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๙๘๘ ได้ผนวก รวมกับพรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democratic Party - SDP) จัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นซึ่งต่อมา เรียกกันว่า พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party - LDP มักเรียกสั้นๆว่า Lib Dems) ปัจจุบันพรรคใหม่นี้สามารถคงสถานะความเป็นพรรคสำคัญอันดับ๓ เป็นพลังการเมืองสำคัญในการปกครองส่วน ท้องถิ่นและจัดเป็นพรรคสายกลางซ้ายในการเมืองอังกฤษ
     พรรคเสรีนิยมมีกำเนิดมาจากพรรควิก (Whig Party) ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองเก่าแก่ที่ เกิดจากการรวมตัว ของกลุ่มขุนนางในสมัยพระเจ้าชาลส์ที่ ๒ (Charles II ค.ศ. ๑๖๖๐-๑๖๘๕) โดยต้องการลดพระราชอำนาจ ของพระประมุขและเพิ่มอำนาจของรัฐสภา เหตุการณ์ ดังกล่าวต่อมาเท่ากับสนับสนุนการขยายสิทธิทางการเมืองของประชาชน ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ พรรค เคลื่อนไหวสู่ทิศทางของประชาธิปไตยมากขึ้นสมาชิกคนสำคัญๆ ได้แก่ชาลส์ เจมส์ ฟอกซ์ (Charles James Fox)* และเอิร์ล เกรย์ที่ ๒ (2nd Earl Grey)* ซึ่งได้เป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. ๑๘๓๐ เกรย์เสนอร่างกฎหมาย ปฏิรูปการเมืองจนมีการผ่านพระราชบัญญัติปฏิรูประบบการเลือกตั้งฉบับแรก (First Reform Act) ใน ค.ศ. ๑๘๓๒ที่ รู้จักกันว่าร่างพระราชบัญญัติปฏิรูประบบการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาครั้งใหญ่ (Great Reform Bill)*
     แม้พรรควิกจะประสบความสำเร็จในการเสนอ ร่างกฎหมาย แต่ก็มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน พรรควิกที่สมาชิกส่วนใหญ่เป็นชนชั้นขุนนางเนื่องจากกฎหมายนี้เอื้อให้ชนชั้นกลางเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในสภาสามัญ (House of Commons) ในระยะแรก พวกชนชั้นสูงยังครองตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคอยู่ใน ค.ศ. ๑๘๓๙ ลอร์ดจอห์น รัสเซลล์ (John Russell)* นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นสมาชิกหัวรุนแรงของพรรควิกได้ เริ่มเรียกชื่อพรรคว่าเสรีนิยม ในระยะแรกเป็นการเรียกการรวมกลุ่มอย่างหลวม ๆ ระหว่างพวกวิกในสภา ขุนนาง (House of Lords) กับพวกหัวรุนแรงในสภาสามัญอย่างจอห์นไบรต์ (John Bright) และริชาร์ดคอบเดน (Richard Cobden) ซึ่งเป็นนักการเมืองหน้า ใหม่จากเมืองอุตสาหกรรม แต่บ้างก็ว่าเดิมคำว่าเสรีนิยม เป็นคำที่ ฝ่ายคู่แข่งเรียกพรรควิกอย่างเสียดสีว่าเป็นพรรคที่ ไม่มีหรือหย่อนยานกฎเกณฑ์และภายหลังพรรควิกก็นำไปใช้เอง กลุ่มการเมืองใหม่นี้เน้นการปฏิรูปสังคม เสรีภาพส่วนบุคคล การลดอำนาจของพระมหากษัตริย์ และของศาสนจักรนิกายอังกฤษ (Church of England) หรือนิกายแองกลิคัน (Anglicanism) [ทั้งนี้เพราะ นักการเมืองเสรีนิยมหลายคนเป็นพวกโปรเตสแตนต์ที่ เรียกกันว่า พวกนอนคอนฟอร์มิสต์ (nonconformist)] การหลีกเลี่ยงสงครามและการเข้ากลุ่มพันธมิตรกับต่าง ชาติเพราะจะไม่เป็นผลดีต่อการค้าขาย และเหนือสิ่งอื่นใด คือการยึดมั่นนโยบายการค้าเสรีซึ่งถือเป็นนโยบายหลักที่ ผูกใจเหล่าสมาชิกเสรีนิยมให้รวมกันมา นานนับศตวรรษ
     แม้การจัดตั้งพรรคเสรีนิยมเป็นทางการมักจะ ถือเอา ค.ศ. ๑๘๕๙ ซึ่งเป็นช่วงสมัยที่ ๒ ของรัฐบาล เฮนรี เทมเพิล ไวสเคานต์พาล์เมอร์สตันที่ ๓ ( Henry Temple, 3rd Viscount Palmerston)* ซึ่งเคยเป็นสมาชิกพรรคทอรี (Tory Party) หรือพรรคอนุรักษนิยมมาก่อน แต่สถานะการเป็นพรรคการเมืองอย่างที่ เป็นอยู่ใน ปัจจุบันของพรรคเสรีนิยมเริ่มขึ้นหลังจากพาล์เมอร์สตันถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. ๑๘๖๕ และลอร์ดรัสเซลล์ เกษียณจากการเมืองใน ค.ศ. ๑๘๖๘ ซึ่งทั้งสองเป็นชนชั้นขุนนาง ผู้นำพรรคเสรีนิยมยุคใหม่คนแรกคือวิลเลียม อีวาร์ต แกลดสโตน (William Ewart Gladstone)* ซึ่งนำพรรคชนะการเลือกตั้งใน ค.ศ. ๑๘๖๘ และจัดตั้งรัฐบาลเสรีนิยมชุดแรกขึ้นอย่างไรก็ดี การจัดตั้งพรรคแบบองค์กรที่ มีสมาชิกทั่วประเทศและมีกลไก ต่าง ๆ เริ่มขึ้นเมื่อมีการก่อตั้งสหพันธ์เสรีนิยมแห่งชาติ (National Liberal Federation)ใน ค.ศ. ๑๘๗๗
     เมื่อแกลดสโตนจัดตั้งรัฐบาลถึง๔ ครั้งในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ความเป็นเสรีนิยมของอังกฤษ ก็แทบจะมีความหมายเดียวกับนโยบายของแกลดสโตน แม้ช่วงที่ ไม่ได้บริหารวาทะที่ ทรงอำนาจของแกลดสโตน ก็ยังมีอิทธิพลต่อการเมืองอังกฤษ เสรีนิยมแบบแกลดส โตน คือการยกเลิกข้อจำกัดทางการเมืองศาสนา และ เศรษฐกิจการยกเลิกอภิสิทธิ์ของศาสนจักรอังกฤษ และ การสนับสนุนการค้าเสรีการลดรายจ่ายของรัฐบาลด้วย การคงการเก็บภาษีอัตราต่ำ และขจัดการสูญเปล่าใน การบริหาร รัฐบาลของเขาปฏิรูปประเทศหลายประการได้แก่ปฏิรูปที่ดิน (โดยเฉพาะในไอร์แลนด์) ปฏิรูปการศึกษาด้วยการสถาปนาระบบการศึกษาระดับชาติที่รัฐรับผิดชอบในการจัดการปฏิรูประบบการศาลและยุติธรรม เอื้ออำนวยให้การจัดตั้งสหภาพแรงงานเป็นไป อย่างถูกกฎหมายยกเลิกนิกายไอร์แลนด์ (Church of Ireland) หรือนิกายอังกฤษจากการเป็นนิกายทางการของไอร์แลนด์ยกเลิกระบบอุปถัมภ์ในการเข้ารับราชการทหารและพลเรือน และผ่านร่างกฎหมายปฏิรูประบบการเลือกตั้งฉบับที่ ๓ (3rd Reform Bill) ใน ค.ศ. ๑๘๘๔ ซึ่งทำให้พลเมืองชายแทบทั้งหมดได้สิทธิออก เสียงเลือกตั้งและให้การใช้สิทธิเป็นการลงคะแนนลับ (secret ballot) แทนการประกาศชื่ออย่างเปิดเผย (open declaration) ขณะออกเสียงเลือกตั้งที่ เปิดโอกาส ให้ให้ผู้มีอิทธิพลในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ครอบงำโดยง่าย ในด้านนโยบายต่างประเทศ โดยทั่วไปแกลดสโตน ต่อต้านการนำอังกฤษเข้าไปเกี่ยวข้องกับชาติอื่นๆ แม้ว่าจะเห็นชอบกับการที่อังกฤษส่งกำลังเข้ายึดครอง อียิปต์ใน ค.ศ. ๑๘๘๒ แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของเบนจามิน ดิสเรลี (Benjamin Disraeli)* ผู้นำพรรค อนุรักษนิยมที่ยอมรับการดำเนินนโยบายคุกคามของจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire)* หรือตุรกี พรรคสนับสนุนการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการในการยุติข้อพิพาท และเห็นว่าการใช้กำลังควรเป็นมาตรการสุดท้ายในการแก้ปัญหา
     กฎหมายปฏิรูปการเลือกตั้งฉบับที่ ๓ นอกจาก ขยายสิทธิครอบคลุมชายอังกฤษเกือบทุกคนแล้วยังเปิดโอกาสให้ชาวคาทอลิกทั่วไปในไอร์แลนด์ได้สิทธิ ด้วย ซึ่งทำให้มีการจัดตั้งพรรคไอริช (Irish Party) ในรัฐสภาอังกฤษโดยมีชาลส์ส จวต พาร์แนลล์ (Charles Stewart Parnell)* เป็นหัวหน้า ใน ค.ศ. ๑๘๘๕ เมื่อพรรคไอริชกลายเป็นพรรคชี้ขาดว่าจะให้พรรคเสรีนิยม หรือพรรคอนุรักษนิยมคุมเสียงในสภาสามัญพรรคก็ได้ เรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของไอร์แลนด์ (Irish Home Rule) เพื่อแลกกับการที่จะทำให้รัฐบาล แกลดสโตนได้บริหารต่อไป แกลดสโตนเองก็สนับสนุนการให้สิทธิปกครองตนเองแต่กลุ่มสมาชิกพรรคเสรีนิยม ๗๘ คนที่สนับสนุนการคงการผนวกไอร์แลนด์ไว้กับอังกฤษที่ เรียกว่า กลุ่มเสรีนิยมยูเนียนนิสต์ (Liberal Unionist) ซึ่งมีโจเซฟ เชมเบอร์เลน (Joseph Chamberlain)* เป็นผู้นำไม่เห็นด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเกิดความ แตกร้าวขึ้นในพรรคซึ่งความขัดแย้งขยายตัวจนมีการแยกตัวออกจากพรรค พรรคเสรีนิยมจึงพ่ายแพ้พรรคอนุรักษนิยมที่มีมาร์ควิสที่ ๓ แห่งซอลสเบอรี (3rd Marquis of Salisbury)* เป็นผู้นำอย่างหมดรูปใน ค.ศ. ๑๘๘๖ และกลายเป็นพรรคพรรคฝ่ายค้านอยู่ราว ๑ ทศวรรษต่อมาส่วนกลุ่มเชมเบอร์เลนหันไปร่วมมือกับลอร์ดซอลสเบอรีจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น
     แม้กลุ่มเชมเบอร์เลนแยกตัวออกไปแล้ว แต่ ภายในพรรคเสรีนิยมก็เกิดความขัดแย้งกันอีกใน ประเด็นการทำสงครามบัวร์ (Boer War)* หรือสงครามแอฟริกาใต้ (South African War ค.ศ. ๑๘๙๙-๑๙๐๒) โดยมีกลุ่มที่ เรียกว่า กลุ่มจักรวรรดินิยมเสรี (LiberalImperialist)สนับสนุนการทำสงครามของรัฐบาลส่วน กลุ่มหัวรุนแรงกว่าที่สนับสนุนพวกบัวร์ประณามการพิพาทและเรียกร้องให้รัฐบาลยุติความเป็นศัตรูกับพวก บัวร์โดยเร็ว กลุ่มหลังนี้มีสมาชิกที่สำคัญได้แก่เดวิด ลอยด์ จอร์จ (David Lloyd George)* ซึ่งยังเป็นสมาชิกสภาสามัญหน้าใหม่แต่เป็นผู้มีโวหารเป็นเลิศจนทำให้ เป็นดาวรุ่งในสภา หัวหน้าพรรคเสรีนิยมคนใหม่คือเซอร์เฮนรี แคมป์เบลล์-แบนเนอร์มัน (Henry Campbell-Bannerman)* ได้พยายามประสานสมาชิกทั้ง๒ กลุ่มเมื่อพรรคอนุรักษนิยม และกลุ่มเชมเบอร์เลน เสียคะแนนนิยมจากร่างกฎหมายใหม่ด้านการศึกษา และจากนโยบายของเชมเบอร์เลนในการตั้งพิกัดอัตรา ภาษีเพื่อคุ้มครองสินค้าในประเทศ (protectionist tariff) พรรคเสรีนิยมก็ชูนโยบายดั้งเดิมของพรรคคือการค้า เสรีและการปฏิรูปที่ดินซึ่งทำให้พรรคชนะการเลือกตั้งใน ค.ศ. ๑๙๐๖ อย่างขาดลอยเป็นประวัติการณ์โดยได้ถึง ๔๐๐ ที่นั่งแต่ก็เป็นการได้เสียงข้างมากในสภาเป็นครั้งสุดท้ายของพรรคเสรีนิยม
     หลังจากนั้นพรรคเสรีนิยมออกกฎหมาย หลายฉบับรวมทั้งการกำหนดจำนวนชั่วโมงทำงาน การประกันสังคม และระบบสวัสดิการแห่งชาติแต่การที่พรรคต้องการยกเลิกอำนาจของสภาขุนนาง จึงจำต้องยอมให้มีการจัดการเลือกตั้งถึง๒ ครั้งใน ค.ศ. ๑๙๑๐ เพื่อทดสอบมติมหาชนว่าเห็นด้วยกับจุดยืนของพรรค หรือไม่ซึ่งในครั้งหนึ่งนั้นพรรคเสรีนิยมได้คะแนนเท่า กับพรรคอนุรักษนิยม คือ๒๗๒ที่นั่งจึงต้องอาศัยเสียงสนับสนุนจากพรรคแรงงานและพรรคไอริชแต่พรรค ก็ต้องสูญเสียสถานะการเป็นพรรคที่ ได้เสียงข้างมากในสภา กลายเป็นพรรคที่ ต้องอาศัยเสียงสนับสนุนจาก พรรคไอริชเป็นสำคัญเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ รัฐมนตรีหลายคนของพรรคลาออก เพราะสมาชิกพรรค มีความเห็นแตกแยกกันในประเด็นที่ว่าควรสนับสนุนการเข้าสงครามหรือไม่ผู้นำพรรคขณะนั้นคือเฮอร์เบิร์ต เฮนรี แอสควิท (Herbert Henry Asquith)* ซึ่งนำการบริหารประเทศยามสงครามอย่างไม่มีประสิทธิ ภา พนักสมาชิกพรรค ๒ คน คือวินสตัน เชอร์ชิลล (Winston Churchill)* และลอยด์ จอร์จเป็นฝ่ายสนับสนุนการทำสงครามอย่างแข็งขันและค่อย ๆ บีบบังคับพวกใฝ่สันติออกไป
     ความย่อหย่อนประสิทธิภาพของกองทัพอังกฤษ ในช่วงเดือนแรก ๆ ของสงครามทำให้ในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๑๕ แอสควิทจำต้องเชิญพรรค อนุรักษนิยมเข้ามาเป็นรัฐบาลผสม การบริหารของ พรรคเสรีนิยมที่ ดำเนินมา ๑๐ ปีซึ่งได้ออกกฎหมาย ปฏิรูปสังคมหลายฉบับที่วางพื้นฐานการเป็นรัฐสวัสดิการของอังกฤษ กลายเป็นการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเสรีนิยม จากทุกกลุ่มในพรรคเป็นครั้งสุดท้าย และพรรคเสรีนิยม ก็ไม่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลอีกรัฐบาลผสมเองก็สลายตัวในปลาย ค.ศ. ๑๙๑๖ เพราะพวกอนุรักษนิยมขอ ถอนการสนับสนุนแอสควิทและให้ลอยด์ จอร์จดำรง ตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลผสมแทนในเดือนธันวาคม โดย มีรัฐมนตรีที่สังกัดพรรคอนุรักษนิยมเป็นส่วนใหญ่ แอสควิทและพวกซึ่งมีประมาณครึ่งหนึ่งของสมาชิกพรรคเสรีนิยมก็ย้ายไปเป็นพรรคฝ่ายค้าน พรรคเสรี นิยมจึงแตกเป็นกลุ่มอีกครั้งหนึ่งนอกจากนี้สมาชิกพรรคก็มีทัศนะต่างกันในเรื่องการเกณฑ์ทหาร (Conscription)* เพราะสมาชิกหลายคนเห็นว่าไม่สอดคล้อง กับระบอบประชาธิปไตยหากบังคับให้คนต้องเข้าสู้รบ ในการสงคราม
     ในการเลือกตั้งทั่วไปหลังสงคราม ค.ศ. ๑๙๑๘ กลุ่มของลอยด์ จอร์จซึ่งร่วมมือกับพรรคอนุรักษนิยมที่ มีแอนดรูว์ โบนาร์ ลอว์ (Andrew Bonar Law)* เป็นหัวหน้าในการจัดการเลือกตั้งคูปอง (Coupon Election)* มีชัยชนะอย่างขาดลอยเหนือกลุ่มเสรีนิยมสาย แอสควิทและพรรคแรงงาน (Labour Party)* ที่เป็นพรรคการเมืองใหม่โดยได้ถึง ๕๒๐ เสียง ในจำนวนนี้เป็นเสรีนิยม ๑๓๖ เสียง ขณะที่ กลุ่มแอสควิทได้๒๘ที่นั่งแม้ลอยด์ จอร์จจะยังคงอ้างการเป็นผู้นำรัฐบาล แต่เขาก็อยู่ใต้อิทธิพลของพรรคอนุรักษนิยมที่ ปรับปรุงภาพ ลักษณ์ใหม่ให้ดึงดูดใจสาธารณชนมากขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๒๒สมาชิกสภาสามัญแถวหลัง (backbencher) ของ พรรคอนุรักษนิยมปฏิเสธที่ จะคงรัฐบาลผสม ๒ พรรค ต่อไปโดยยกเรื่องวิกฤตการณ์ชานัก (Chanak Crisis)*ที่ เกือบจะทำให้อังกฤษต้องสู้รบกับตุรกีและการที่ลอยด์ จอร์จถูกกล่าวหาเรื่องการขายยศขุนนาง (sale of honors) ในที่สุดลอยด์ จอร์จถูกบังคับให้ลาออก และพรรค อนุรักษนิยมก็เข้าบริหารประเทศเอง ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. ๑๙๒๒ และ ๑๙๒๓ พรรคเสรีนิยมได้เสียง แทบไม่ถึง ๑ ใน ๓ ของผู้มาออกเสียงเลือกตั้งและได้ที่นั่งในสภาสามัญเพียงร้อยละ ๒๕ เพราะชาวอังกฤษ หัวก้าวหน้าจำนวนมากหันไปลงคะแนนเสียงให้แก่พรรค แรงงานแทนที่ จะลงคะแนนให้แก่พรรคเสรีนิยมที่สมาชิกทะเลาะเบาะแว้งกันใน ค.ศ. ๑๙๒๒ พรรคแรงงานกลาย เป็นพรรคฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการแทนที่ พรรคเสรี นิยม ในปีต่อมาสมาชิกพรรคเสรีนิยม ๒ กลุ่มที่ ขัดแย้งก็รวมตัวกันใหม่เพื่อสนับสนุนนโยบายการค้าเสรีเมื่อสแตนลีย์บอลด์วิน (Stanley Baldwin)* นายกรัฐมนตรี คนใหม่ของพรรคอนุรักษนิยมนำพรรคสู่นโยบายการตั้งพิกัดอัตราภาษีเพื่อคุ้มครองสินค้า ใน ค.ศ. ๑๙๒๓ พรรคเสรีนิยมจึงได้เสียงที่ เคยลงให้พรรคอนุรักษนิยม บ้าง แต่เสียงที่ เคยได้รับก็เปลี่ยนไปลงให้แก่พรรค แรงงาน พรรคเสรีนิยมจึงยังคงเป็นพรรคใหญ่อันดับ ๓ ในสภาสามัญโดยได้๑๕๙ที่นั่งขณะที่ พรรคแรงงานได้ ๑๙๑ ที่นั่ง
     ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. ๑๙๒๔ พรรคเสรี นิยมได้เพียง ๔๐ ที่นั่งเพราะคนที่ เคยลงคะแนนให้ พรรคเสรีนิยมลดน้อยลงอีกพวกหัวก้าวหน้าเปลี่ยนไป ลงให้พรรคแรงงานส่วนพวกชนชั้นกลางสายกลางหันไปหาพรรคอนุรักษนิยม มีสมาชิกสภาสังกัดพรรคเสรี นิยมเพียง ๗ คนที่ ได้ชัยชนะเหนือผู้สมัครจากพรรค แรงงานและพรรคอนุรักษนิยม และ ๗ เสียงนี้ก็ไม่สะท้อนว่าพรรคเสรีนิยมกำลังจะฟื้นตัว จึงดูเหมือนว่าอนาคตของพรรคเสรีนิยมจบสิ้นลงแล้วสมาชิกพรรค บางคนอย่างเชอร์ชิลล์เปลี่ยนไปเข้าร่วมรัฐบาลของ พรรคอนุรักษนิยม (แต่เปลี่ยนพรรคอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. ๑๙๒๙) บางคนก็เปลี่ยนไปสังกัดพรรคแรงงาน ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. ๑๙๒๙ เดวิด ลอยด์ จอร์จพยายามนำพรรคเสรีนิยมกลับสู่การเมืองเป็นครั้งสุดท้ายด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ เรียกว่า "เรา จะเอาชนะปัญหาการว่างงานให้ได้" (We Can Conquer Unemployment!) ตามที่ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) นักเศรษฐศาสตร์แนวเสรีนิยมเสนอ ให้ใช้ปรากฏผลว่าพรรคเสรีนิยมได้คะแนนเสียงมาก ขึ้นเป็น๕๙ที่นั่งพรรคแรงงานมีชัยชนะในการเลือก ตั้งครั้งนี้แต่ยังไม่ได้เสียงข้างมากในสภา
     ใน ค.ศ. ๑๙๓๑ แรมเซย์ แมกดอนัลด์ (Ramsay MacDonald)* หัวหน้าพรรคแรงงานได้รับมอบหมายให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้นซึ่งเป็นรัฐบาลที่สมาชิกพรรคอนุรักษนิยมชี้นำการบริหารต่าง ๆ การที่ลอยด์ จอร์จล้มป่วย ทำให้พรรคเสรีนิยมไม่ได้เข้าร่วม รัฐบาลแห่งชาติอย่างแท้จริงนักในปีเดียวกันนี้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป รัฐบาลแห่งชาติเสนอนโยบายการตั้งพิกัดอัตราภาษีเพื่อคุ้มครองสินค้าในประเทศสมาชิกพรรคเสรีนิยมเกรงว่าประเด็นนี้จะทำให้เกิดการขัดแย้งกันขึ้นในหมู่สมาชิกพรรค ซึ่งในที่สุดก็แตกออกเป็น๒ กลุ่มอย่างชัดเจน คือกลุ่มที่ มีเฮอร์เบิร์ตแซมวล (Herbert Samuel) เป็นผู้นำเรียกว่า กลุ่มเสรีนิยมทางการ(Official Liberal) และกลุ่มที่ มีเซอร์จอห์นไซมอน (Sir John Simon) เป็นผู้นำเรียกว่ากลุ่มเสรีนิยมแห่งชาติ (National Liberal) ซึ่งคงสนับสนุนรัฐบาลแห่งชาติ ต่อไป แต่ละกลุ่มได้เสียงประมาณ ๓๕ที่นั่งเมื่อกลุ่มเสรีนิยมทางการเป็นเสียงส่วนน้อยในรัฐบาลที่ กำลังสนับสนุนนโยบายการตั้งพิกัดอัตราภาษีเพื่อคุ้มครอง ในที่สุดก็ไม่สามารถร่วมรัฐบาลต่อไป ใน ค.ศ. ๑๙๓๒สมาชิกพรรคเสรีนิยมจึงลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ต่าง ๆ เมื่อมีการทำความตกลงออตตาวาที่ว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษในจักรวรรดิ (Ottawa Agreement on Imperial Preference) ในปีต่อมาสมาชิกสภาจากพรรค เสรีนิยมเปลี่ยนเป็นพรรคฝ่ายค้านอย่างสมบูรณ์และ ในช่วง ๑๐ ปีหลังจากนั้นก็มีสมาชิกย้ายไปอยู่กลุ่มเสรี นิยมแห่งชาติหรือไม่ก็ไปสังกัดพรรคแรงงาน
     ใน ค.ศ. ๑๙๔๐ พรรคเสรีนิยมได้เข้าร่วม รัฐบาลผสมของวินสตันเชอร์ชิลล์ที่ ได้รับมอบหมายให้ ขึ้นเป็นผู้นำรัฐบาลแทนเนวิลล์เชมเบอร์เลน (Neville Chamberlain)* เซอร์อาร์ชิบัลด์ซินแคลร์ (Archibald Sinclair) หัวหน้าพรรคเสรีนิยมได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอากาศยาน ซึ่งเป็นการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ครั้งสุดท้ายของสมาชิกพรรคเสรีนิยม และสะท้อนการมีบทบาทไม่สำคัญของพรรคนี้เพราะเป็นตำแหน่งที่ ไม่อยู่ในคณะมนตรีสงคราม(War Cabinet) ในการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. ๑๙๔๕ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง ทั้งซินแคลร์และสมาชิกพรรคเสรีนิยมหลาย คนก็สูญเสียที่นั่งที่ เคยได้พรรคเสรีนิยมได้เพียง ๑๒ที่นั่งทั้งนี้เพราะสูญเสียคะแนนนิยมจากชนชั้นแรงงานที่ หันไปลงคะแนนให้พรรคแรงงาน การที่ลอยด์ จอร์จและเชอร์ชิลล์แห่งพรรคอนุรักษนิยมแสดงตนว่าพร้อมที่ จะใช้กำลังทหารเข้ายุติการนัดหยุดงานและปฏิเสธที่ จะ โอนกิจการเหมืองแร่มาเป็นของรัฐทั้งพรรคอนุรักษ นิยมและพรรคเสรีนิยมจึงไม่ได้รับคะแนนจากชนชั้นแรงงาน ใน ค.ศ. ๑๙๕๑ พรรคเสรีนิยมมีสมาชิกในสภาสามัญเพียง ๖ คน ในจำนวนนี้มีรายเดียวเท่านั้นที่ ได้รับเลือกอย่างแท้จริงอีก๕ คนได้รับเลือกเพราะพรรค อนุรักษนิยมเปิดทางให้โดยการไม่ส่งผู้สมัครเข้าแข่งขันระหว่างทศวรรษ ๑๙๕๐-๑๙๖๐ พรรคเสรีนิยมคงอยู่ ได้เพราะเขตเลือกตั้งในชนบทของสกอตแลนด์และเวลส์ยังคงยึดมั่นกับจารีตดั้งเดิมที่ยึดติดกับพรรคเสรีนิยม พรรคฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงทศวรรษ ๑๙๖๐ โดยได้ ครอง ๑๔ที่นั่งในสภาสามัญในการเลือกตั้ง ค.ศ. ๑๙๗๐ พรรคเสรีนิยมซึ่งเป็นพรรคการเมืองแรกของ อังกฤษที่สนับสนุนให้อังกฤษสมัครเข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจของยุโรปหรืออีอีซี (European Economic Community - EEC)* ได้เพียง ๖ ที่นั่ง
     เมื่อรัฐบาลพรรคแรงงานพ้นจากการบริหารประเทศใน ค.ศ. ๑๙๗๙ เพราะมาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher)* ผู้นำพรรคอนุรักษนิยมสามารถ นำพรรคสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป พรรคเสรีนิยม ก็ยิ่งถูกผลักไปอยู่ริมขอบการเมืองแต่ใน ค.ศ. ๑๙๘๑สมาชิกสายกลางขวาของพรรคแรงงานจำนวนหนึ่งที่ มี เหล่าอดีตรัฐมนตรีรอย เจงกินส์ (Roy Jenkins)* เดวิดโอเวน (David Owen) บิลล์รอดเจอส์ (Bill Rodgers) และเชอร์ลีย์วิลเลียมส์ (Shirley Williams)ที่ เรียกว่า กลุ่ม๔ คน (Gang of Four) เป็นแกนนำได้แยกตัว ออกมาจัดตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตย โดยการออก แถลงการณ์ไลม์เฮาส์ (Limehouse Declaration) พรรค เสรีนิยมจึงหันมาร่วมมือกับพรรคเอสดีพีในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. ๑๙๘๑ และ ๑๙๘๓ โดยเรียกว่ากลุ่มพันธมิตรเสรีนิยม-สังคมประชาธิปไตย (Liberal-SDP Alliance) แต่การร่วมมือกันก็ไม่ก่อผลสำเร็จอะไรนักในเดือน มีนาคม ค.ศ. ๑๙๘๘ พรรคเสรีนิยมตัดสินใจรวมกับพรรคเอสดีพีเป็นพรรคสังคมและเสรีประชาธิปไตยหรือเอสแอลดีพี (Social and Liberal Democratic Party SLDP) แต่ต่อมาในเดือนตุลาคมเปลี่ยนมาใช้ชื่อสั้นๆว่าพรรคประชาธิปไตย (Democratic Party) แต่แล้วใน เดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๘๙ พรรคหันมาใช้ชื่อว่าพรรค เสรีประชาธิปไตย เพราะเห็นว่าเหมาะสมกว่าสมาชิกพรรคเสรีนิยมเกิน ๒ ใน ๓ และสมาชิกสภาสามัญจาก พรรคเสรีนิยมทุกคนได้มารวมอยู่ในพรรคใหม่ นี้แต่ มีสมาชิกพรรคเอสดีพีส่วนหนึ่งที่ ไม่เห็นด้วยกับการผนวก รวม และหันไปตั้งพรรคใหม่โดยใช้ชื่อว่าพรรคเสรีนิยม อย่างไรก็ดี ในทางกฎหมายถือว่ากลุ่มหลังนี้เป็นกลุ่มการเมืองใหม่เพราะสถานที่ ตั้งบัญชีแสดงทรัพย์สินและ หนี้สินของพรรคเอสดีพีได้ส่งมอบให้แก่พรรคเสรีประชาธิปไตยหมดแล้ว
     แม้ว่าในช่วงแรกการผนวกรวมจะก่อความสะเทือนใจให้แก่สมาชิกพรรคเสรีนิยมบางคนและพรรค ใหม่ก็ยังไม่ได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากนักแต่ พรรคก็ค่อย ๆ ได้รับความนิยมและได้เสียงมากกว่าที่ พรรคเสรีนิยมเคยได้รับหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ใน การเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. ๒๐๐๑ พรรคเสรีประชาธิปไตย ได้ ๕๒ ที่นั่งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๐๕ ได้ ๖๒ ที่นั่งจาก ๖๔๖ ที่นั่งซึ่งเท่ากับร้อยละ ๒๒ จากการชู นโยบายต่อต้านการส่งทหารไปอิรักจึงนับว่ามีความ ก้าวหน้าขึ้นมากจากที่ แต่แรกมีสมาชิกสภาเพียง ๕ คน และพรรคเสรีนิยมเดิมก็ถือเป็นองค์กรที่สูญสิ้นไปแล้ว การได้๖๒ที่นั่งเป็นจำนวนสูงที่สุดนับตั้งแต่ครั้งที่ พรรค เสรีนิยมได้๑๕๘ที่นั่งใน ค.ศ. ๑๙๒๔ จึงอาจเป็นไปได้ว่าลู่ทางในอนาคตของพรรคอาจแทนที่ พรรคอนุรักษ นิยมในการเป็นคู่ต่อสู้ของพรรคแรงงาน และพรรคก็ได้ คะแนนเสียงจากเขตเมืองหลายแห่งที่ เคยเป็นเขต คะแนนเสียงของพรรคแรงงาน เช่นแมนเชสเตอร์ ไวทิงตัน (Manchester Withington) คาร์ดิฟฟ์เซ็นทรัล (Cardiff Central) และเบอร์มิงแฮมยาร์ดเลย์ (Birmingham Yardley) ปัจจุบันพรรคเสรีประชาธิปไตยดำเนินบทบาทเหมือนพรรคเสรีนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ นั่นคือพรรคมีบทบาทสำคัญในการชี้ขาดว่าในกรณีที่ พรรคที่ ใหญ่กว่าอีก๒ พรรคได้คะแนนพอ ๆ กันนโยบายของพรรคใดจะผ่านการพิจารณาของสภา
     พรรคเสรีประชาธิปไตยที่ ถือเป็นพรรคใหญ่ อันดับ๓ ของสหราชอาณาจักรมีสมาชิกประมาณ ๗๒,๐๐๐ คน เป็นพรรคที่สนับสนุนนโยบายสังคมเสรี นิยม (social liberalism) ลดการแทรกแซงของรัฐใน กิจการของเอกชนทั้งในอังกฤษและในต่างประเทศ เพราะเห็นว่าการแทรกแซงของรัฐทำให้รัฐมีลักษณะเป็น"รัฐพี่เลี้ยง (nanny state)" แม้พรรคจะสนับสนุนความ เป็นธรรมในสังคมและการเป็นรัฐสวัสดิการแต่ก็เชื่อใน การมีอิสระในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการแข่งขันกันอย่างเสรีในตลาด ธรรมนูญของพรรคระบุว่า จะสร้างสังคมเปิดที่ เสรีและเป็นอิสระ จะหาสมดุลแห่งหลักการพื้นฐานด้านเสรีภาพและความเสมอภาค จะไม่ มีใครถูกพันธนาการโดยความยากจน ความโง่เขลา หรือการต้องยอมปฏิบัติตาม จะเชิดชูเกียรติอิสรภาพ และสวัสดิภาพของปัจเจกชน ในทศวรรษ ๑๙๙๐ พรรคสนับสนุนประเด็นสิ่งแวดล้อมโดยเสนอให้เรียกเก็บภาษี จากผู้ที่ ก่อมลภาวะสูง (green taxes) จึงกลายเป็นพรรคที่ เน้นเรื่องนี้มากกว่าพรรคอื่นๆ ในการประชุมใหญ่ของ พรรคใน ค.ศ. ๒๐๐๗ ที่ เมืองไบรตัน (Brighton) พรรค เสนอให้ลดภาษีเงินได้ลง ๔ เพนนีใน ๑ ปอนด์คือจากที่ เก็บ ๒๐ เพนนีใน ๑ ปอนด์ก็เสนอให้เก็บเพียง ๑๖ เพนนีซึ่งนับว่าต่ำสุดตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๑๖ และเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งสำคัญเพราะแสดงการหันเห จากนโยบายเพิ่มภาษีเงินได้เพื่อการกระจายรายได้ให้ มากขึ้นที่ พรรคสนับสนุนและเป็นจุดยืนดั้งเดิมของสมาชิกพรรคแรงงานรุ่นเก่า พรรคสนับสนุนการศึกษา ให้เปล่าแก่ทุกคน และเสนอให้ยกเลิกการจัดเก็บค่า ธรรมเนียมการศึกษาและจัดระบบการให้เงินช่วยเหลือของรัฐแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยพรรคสนับสนุนให้ยกเลิกสภาขุนนางและแทนที่ ด้วยสภาที่ มาจากการเลือกตั้งในด้านต่างประเทศ พรรคต่อต้านการที่อังกฤษ เข้าร่วมในสงครามอิรัก (Iraq War)ที่สหรัฐอเมริกา ชักจูงอังกฤษให้ร่วมมือด้วย และต้องการถอนทหาร อังกฤษออกจากอิรักภายใน ค.ศ. ๒๐๐๗ แม้ว่าพรรคนี้ จะเคยสนับสนุนการที่อังกฤษเข้าร่วมสงครามในคอซอวอ (Kosovo)* และการร่วมแทรกแซงในปัญหา บอสเนียก็ตามส่วนนโยบายต่อยุโรปนั้นพรรคเสรี ประชาธิปไตยเป็นพรรคของอังกฤษที่สนับสนุนหรือส่งเสริมกิจการของยุโรปมากที่สุด
     ปัจจุบัน ( ค.ศ. ๒๐๐๘) ผู้นำพรรค คือนิคเคลกก์ (Nick Clegg) ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกอย่าง ทิ้งห่างคู่แข่งเพียง ๕๑๑ คะแนนเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๐๗ นับเป็นหัวหน้าพรรคลำดับที่ ๔สมาชิกพรรคที่ ได้เข้านั่งในสภาสามัญมีจำนวน ๖๓ คน (ได้เพิ่ม๑ที่นั่งจากการเลือกตั้งซ่อมในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.๒๐๐๖) เชื่อกันว่า ในอนาคตพรรคเสรีประชาธิปไตย จะมีสมาชิกสภาเพิ่มมากขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสามารถทำให้ ผู้ลงคะแนนเสียงเห็นว่านโยบายของพรรคแตกต่างจาก อีกสองพรรคใหญ่อย่างชัดเจ



คำตั้ง
Liberal Party
คำเทียบ
พรรคเสรีนิยม
คำสำคัญ
- กลุ่มพันธมิตรเสรีนิยม-สังคมประชาธิปไตย
- วิกฤตการณ์ชานัก
- แมกดอนัลด์, แรมเซย์
- บอลด์วิน, สแตนลีย์
- แซมวล, เฮอร์เบิร์ต
- ไซมอน, เซอร์จอห์น
- เคนส์, จอห์น เมย์นาร์ด
- แอสควิท, เฮอร์เบิร์ต เฮนรี
- ลอว์, แอนดรูว์ โบนาร์
- ลอยด์ จอร์จ, เดวิด
- พรรคแรงงาน
- เชอร์ชิลล์, วินสตัน
- การเกณฑ์ทหาร
- การเลือกตั้งคูปอง
- แคมป์เบลล์-แบนเนอร์มัน, เซอร์เฮนรี
- ออตโตมัน, จักรวรรดิ
- สหพันธ์เสรีนิยมแห่งชาติ
- สงครามแอฟริกาใต้
- สงครามบัวร์
- ร่างกฎหมายปฏิรูประบบการเลือกตั้งฉบับที่ ๓
- พาร์เนลล์, ชาลส์ สจวต
- นิกายไอร์แลนด์
- เชมเบอร์เลน, โจเซฟ
- ซอลสเบอรี, มาร์ควิสที่ ๓ แห่ง
- แกลดสโตน, วิลเลียม อีวาร์ต
- การปกครองตนเองของไอร์แลนด์
- กลุ่มเสรีนิยมยูเนียนนิสต์
- กลุ่มจักรวรรดินิยมเสรี
- สงครามโลกครั้งที่ ๒
- สงครามโลกครั้งที่ ๑
- ร่างพระราชบัญญัติปฏิรูประบบการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาครั้งใหญ่
- รัสเซลล์, ลอร์ดจอห์น
- ฟอกซ์, ชาลส์ เจมส์
- พวกนอนคอนฟอร์มิสต์
- พระราชบัญญัติปฏิรูประบบการเลือกตั้งฉบับแรก
- พรรคเสรีประชาธิปไตย
- พรรควิก
- พรรคสังคมประชาธิปไตย
- พรรคทอรี
- ไบรต์, จอห์น
- เทมเพิล, เฮนรี จอห์น ไวส์เคานต์พาล์เมอร์สตันที่ ๓
- ชาลส์ที่ ๒, พระเจ้า
- คอบเดน, ริชาร์ด
- เกรย์ที่ ๒, เอิร์ล
- พรรคอนุรักษนิยม
- พรรคเสรีนิยม
- ดิสเรลี, เบนจามิน
- คณะมนตรีสงคราม
- เจงกินส์, รอย
- เชมเบอร์เลน, เนวิลล์
- ซินแคลร์, เซอร์อาร์ชิบัลด์
- แถลงการณ์ไลม์เฮาส์
- แทตเชอร์, มาร์กาเร็ต
- ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
- พรรคประชาธิปไตย
- รอดเจอส์, บิลล์
- วิลเลียมส์, เชอร์ลีย์
- โอเวน, เดวิด
- คอซอวอ
- คาร์ดิฟฟ์ เซนทรัล
- ไบรตัน, เมือง
- ยาร์ดเลย์, เบอร์มิงแฮม
- ไวทิงตัน, แมนเชสเตอร์
- สงครามอิรัก
ช่วงเวลาระบุเป็นคริสต์ศักราช
-
ช่วงเวลาระบุเป็นพุทธศักราช
-
มัลติมีเดียประกอบ
-
ผู้เขียนคำอธิบาย
ชาคริต ชุ่มวัฒนะ
บรรณานุกรมคำตั้ง
-
แหล่งอ้างอิง
หนังสือ สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๕ อักษร L-O ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กองธรรมศาสตร์และการเมือง 2.L 1-142.pdf